ผ้าถุงปาเต๊ะ ใช้กันแพร่หลายบนคาบสมุทรมลายูมีประวัติศาสตร์ยาวนานของผ้าถุงมากว่า 1000 ปี โดยผ้าถุงทางใต้นี้ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ 1.ถ้าเป็น มากกว่า 2 ลาย มีก้นผ้า สีพื้นสองสี เราจะเรียกว่า ผ้าปาเต๊ะ 2. ผ้าถุงที่มีลายเดียวทั้งผืน มีลายริมผ้า เรียกว่า ผ้าพันอินโด โดยผ้าถุงทางใต้ ใช้เทคนิคหัตศิลป์ในการสร้างลวดลายบนผืนผ้า ลงเทียน เขียนสี โดยใช้ช่างฝีมือท้องถิ่น โดยใช้ลวดลายวิถีชีวิต ความเป็นธรรมชาติในท้องถิ่น เข้าผสมผสานจนเกิดลาย
เป็นผ้าปาเต๊ะ หรือ ผ้าถุง ที่ใช้เทคนิคพิมพ์ หรือ วาดลายผ้าด้วย ฝีมือมนุษย์ ผ้าจึงสวยงาม ดูมีเสน่ห์ ดั่งงานศิลปะ ที่วาดลงบนผืนผ้า จะใช้ผ้าคอตตอนอย่างดี ที่เส้นใยละเอียด และวิธีการทำก็ค่อนข้างใช้ระยะเวลาร่วมเดือน ผ้าวาดปาเต๊ะเป็นงานที่ทำขึ้นแบบโบราณ ซึ่งความสวยนั้นมีมากกว่าผ้าพิมพ์เครื่องจักร และในลวดลายก็จะไม่คมเท่าผ้าถุงพิมพ์เครื่องจักร ผ้าปาเต๊ะวาดมือมีกลิ่นของถ่านไม้บนผ้า ซึ่งเป็นกลิ่นเฉพาะ เกิดจากกระบวนการขึ้นลายของผ้าถุงวาดมือ
ผ้าปาเต๊ะวาดมือตูลิสนั้น เป็นการเขียนมือทั้งผืนของช่างฝีมือผู้มีประสบการณ์ และชำนาญมาก โดยผ้าปาเต๊ะตูลิสนั้น จะผลิตที่ทางเหนือของเกาะชวา เมืองจิเรบอน ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผ้าปาเต๊ะสีสันสดใส และมีชื่อเสียงในอุตสาหากรรมการผลิตผ้าปาเต๊ะ ผ้าปาเต๊ะตูลิสนั้น เป็นผ้าปาเต๊ะที่เขียนมือทั้งผืน 100% ช่างวาดจะเขียนลาย โดยใช้ junting สร้างลวดลายบนผ้าปาเต๊ะ ระยะเวลาในการผลิตผ้าปาเต๊ะตูลิส ใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน และยิ่งนานยิ่งขึ้น ถ้าลวดลายบนผ้าเล็กและยิ่งละเอียดขึ้น โดยบางผืนนั้น อาจใช้เวลานานนับปี และมีมูลค่าผ้าถุงที่สูงมาก ผ้าปาเต๊ะตูลิสนั้น นับเป็นสุดยอดของผ้าถุง ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ